การทำธุรกิจออนไลน์มักมีคนตั้งข้อสงสัยอยู่บ่อยครั้งว่าด้วยความที่ธุรกิจเหล่านี้สามารถทำกันได้ง่าย ไม่ได้มีใครเข้ามาตรวจสอบอย่างจริงจังซึ่งต่างกับคนที่ทำธุรกิจแบบชัดเจน มีเอกสารหลักฐาน มีการจดทะเบียนที่ต้องมีเรื่องของภาษีเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ว่าจะเป็นการทำธุรกิจประเภทใดหากมีรายรับหรือรายได้ก็ต้องมีการเข้ากฎเกณฑ์เรื่องของภาษีอยู่แล้ว ทีนี้ลองมาทำความเข้าใจว่าการขายของออนไลน์มีเรื่องใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับภาษี ทำความเข้าใจด้านภาษีกับการขายของออนไลน์ พื้นฐานสำคัญที่การขายของออนไลน์ต้องคำนึงมากที่สุดก็คือหากมีรายรับจาการขายสินค้าเกิน 1,800,000 บาทต่อปี จะต้องมีการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีมูลค่าเพิ่ม ตัวอย่างเช่น หากมีรายได้เกินกว่าที่กำหนดเอาไว้ก็ต้องมีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และนำภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องเสียไปบวกกับลูกค้า เช่น สินค้าชิ้นนี้ขาย 100 บาท เมื่อบวกภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปด้วยก็จะต้องขายในราคา 107 บาท เป็นต้น อย่างไรก็ตามหากรายได้ต่อปีไม่ถึง 1,800,000 บาท ก็ให้เสียแค่ภาษีบุคคลธรรมดาเท่านั้น ภาษีเงินได้ที่ว่านี้ ปกติแล้วหากเราเป็นผู้มีรายได้ตามกฎหมายแล้วเข้าเกณฑ์การเสียภาษีที่กำหนดก็ต้องมีการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอยู่แล้ว จะใช้หลักการคำนวณจากรายได้สุทธิ ทว่ากรณีที่เป็นนิติบุคคลก็ต้องมีการเสียภาษีนิติบุคคล ที่ใช้การคำนวณจากผลกำไรสุทธิแทน การขายของออนไลน์ยังถือเป็นรายได้ประเภทที่ 8 ก็คือเงินได้ประเภทอื่นๆ สามารถทำการเลือกหักค่าใช้จ่ายได้ 2 วิธี ได้แก่ วิธีเหมารวมในอัตรา 80% ของรายได้ กับการจ่ายตามความเป็นจริงหรือตามสมควร ส่วนที่เหลือหลังมีการหักค่าใช้จ่ายก็ให้นำมาลดหย่อนภาษีตามกฎหมายเพื่อเอาไว้คำนวณเป็นรายได้สุทธิกันต่อไป การคำนวณภาษีแบบขั้นบันไดกับการขายของออนไลน์ 0 -150,000 บาท ได้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ 150,001-300,000 บาท เสียภาษี 5% สูงสุดไม่เกิน […]