ขายของออนไลน์ยังไงให้ปัง อะไรควรทำ อะไรควรเลี่ยง

หากคุณเป็นคนที่มีความต้องการขายสินค้าออนไลน์แล้วละก็เราอยากจะแนะนำเทคนิคต่อไปนี้เพื่อที่คุณจะได้ขายสินค้าออนไลน์ได้ปัง มาดูกันดีกว่ากว่าควรจะเริ่มทำจากตรงไหนกันบ้างและมีอะไรที่ควรเลี่ยง

ในการจะเลือกสินค้าสักชิ้นมาขายทางช่องทางออนไลน์นั้นคุณควรที่จะต้องคิดอย่างรอบคอบและชาญฉลาด เรียกได้ว่าสิ่งนี้เป็นตัวตั้งตัวตี และเป็นขั้นตอนที่สำคัญเป็นอย่างมาก เพราะมีผลกับการขายออนไลน์ของคุณว่าจะส่งผลในรูปแบบใด และเป็นผลระยะยาว ต้องพิจรณาอย่างรอบคอบในหลายๆด้านด้วยกัน ทั้งความต้องการของลูกค้า การแข่งขัน ยอดขาย การตลาด อาจจะเป็นสินค้าที่คุณชื่นชอบเองแต่ก็ต้องคำนึงถึงเรื่องกำไรว่าสามารถทำได้จากสินค้านี้มากน้อยเพียงใดคุ้มค่าแก่การลงทุนหรือไม่ เป็นที่ต้องการทางตลาดไหมหากจำหน่ายผลลัพธ์จะน่าพึงพอใจรึเปล่าในด้านการแข่งขันสูงไหมหากสูงคุ้มที่จะเสี่ยงไหม หากไม่สูงเกินไปหรือการแข่งขันต่ำ การตีตลาดเป็นเจ้าแรกๆ ก็จะส่งผลต่อการขายระยะยาวด้วยเช่นกัน

การเลือกซัพพลายเออร์ที่น่าเชื่อถือนั้นถือว่าสำคัญ ไม่ว่าจะเป้นคู่ค้า หรือ ผู้ที่จัดทำการส่งสินค้าให้กับคุณ เรียกได้ว่าคุณอาจที่จะต้องใช้เวลาเลือกลองลงมาจากสินค้าของคุณเลยก็ได้ เพราะการที่จะเลือกนั้นคุณเองก็จำเป็นที่จะต้องศึกษาหาข้อมูลรายละเอียดต่างๆให้ถี่ถ้วนเพื่อไม่ให้ผิดพลาดในการตัดสินใจ คุณอาจจะเลือกหาซัพพลายเออร์ที่เป็นร้านขายส่ง หรือ เป็นโรงงานผลิต

คุณต้องจัดทำการขายออนไลน์ของคุณให้ถูกกฎหมาย เริ่มแรกคือการตั้งชื่อร้านซึ่งนั้นก็มีผลหากชื่อของคุณไม่ซ้ำกับใครและดึงดูดใจนั้นก็จะเป็นเรื่องที่ดีกับการขายสินค้าของคุณ หากคุณไม่ต้องการขายแค่เพียงในแพลตฟอร์มอย่างอินสตาแกรม หรือเฟสบุ๊คเพียงอย่างเดียว คุณสามารถที่จะจดทะเบียนร้านค้าออนไลน์ได้ ซึ่งต่างกับจดทะเบียนบริษัทบางคนอาจจะยังไม่ทราบตรงนี้ สำคัญมาก สองที่คุณจดนั้นจะเป็นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จัดเป็นเงินในประเภทที่ 8 โดยที่ต้องยื่นเสียภาษี 2 ช่วงต่อ 1 ปี คือ เดือน มกราคม ถึง มีนาคม เป็นการสรุปรายได้รวมของทั้งปี และช่วง กรกฎาคมไปจนถึงกันยายน เป็นการสรุปช่วงครึ่งปีแรก ค่าลดหย่อนบางรายการอาจจะถูกหักไป

คุณควรที่จะอำนวยความสะดวกของลูกค้า ด้วยช่องทางการชำระเงินที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเครดิตการ์ด อีเพย์เมนต์ โมบายด์แบงค์กิ้ง ออนไลน์แบงค์กิ้ง มันจะแสดงให้เห้นถึงความใส่ใจต่อลูกค้าของคุณด้วย
ช่องทางที่คนไทยเลือกซื้อของออนไลน์มี 3 แพลตฟอร์ม นั้นคือ โซเชียลมีเดีย 40% (Facebook , IG ฯลฯ) , อี – มาเก็ตเพลส 35% (เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซรายใหญ่ LAZADA ฯลฯ) ,อี-ไทเลอร์ 25% ( เว็บไซต์ขายสินค้าปลีกย่อยประเภทมีหน้าร้านอยู่แล้ว เช่น โลตัส บิ๊กซี ฯลฯ)

การที่คุณจะเลือกพิจรณาใช้แพลตฟอร์มเพื่อการลงทุนสักอย่างนึงนั้น ต้องพิจรณาจาก จำนวนของผู้ใช้งานบนแพลตฟอร์มนั้น คู่แข่งหรือจำนวนผู้ใช้งานขายสินค้าบนแฟลตฟอร์ม ความน่าเชื่อถือเพื่อที่จะได้ผิดหวังเมื่อตัดสินใจลงทุน ค่าธรรมเนียมทางการค้า เพราะมันอาจจะส่งผลต่อกำไรของคุณเช่นกัน ความยืดหยุ่นของแพลตฟอร์มบางทีหากมีกฎที่เคร่งครัดจนเกินไป เช่นการเหลดวันจ่ายค่าธรรมเนียม หรือ การอัพเดตไม่ทัน อาจทำให้คุณถูกระงับการใช้งานได้ ในส่วนนี้การทำเว็บเองก็เป็นเรื่องที่ดีเช่นกัน

สุดท้ายคือการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดให้ดี เพราะการวางแผนที่ดีก็อาจจะถูกใจลูกค้าด้วยเช่นกัน รวมไปถึงการตอบคำถามใส่ใจการตอบคำถาม การแนะนำนับเป็นการบริการที่ซื้อใจลูกค้าได้ดีเช่นกัน